วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ช้างเผือกของไทย..ช้างคู่บ้านคู่เมือง

     เป็นช้างพลายรูปงาม งาขวา - ซ้ายเรียวงาม กายสีดอกบัวแดง ขนตัวขุมละสองเส้น ขนโขมด สีน้ำผึ้งโปร่ง ขนบรรทัดหลังสีน้ำ ผึ้งโปร่งเจือแดง ขนหูสีขาว ขนหางสีน้ำผึ้งเจือแดงแก่ ตาขาวเจือเหลือง เพดานปากขาวเจือชมพู อัณฑะโกศขาวเจือชมพู เล็บขาว เจือเหลืองอ่อน หูและหางงามพร้อม เสียงเป็นศัพท์แตรงอน 

   ช้างเผือก
ภาพการเดินขบวนของช้างเผือก


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชโรงช้างต้นวังไกลกังวล


พระมหากระรุณาธิคุณต่อช้างไทย...............
.สพ... พิพัฒนฉัตร กล่าวถึงการดูแลช้างสำคัญว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นว่าพระราชวังสวนจิตรลดานั้น มีหน่วยงานตามพระราชดำริมากขึ้น ทำให้ไม่มีบริเวณเพียงพอให้ช้างได้เดินออกกำลังที่เพียงพอ จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายช้างสำคัญเหล่านี้ไปอยู่ในโรงช้างหลวงที่จังหวัดลำปางและสกลนคร เพื่อให้ช้างเดินออกกำลังกาย และทดลองใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ โดยมีผู้ดูแลช้างสำคัญทุกช้าง
โดยช่วงแรกย้ายไปไม่กี่ช้างก่อน และให้มีการถวายรายงานการปรับตัวของช้างเป็นประจำ จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายปี จึงสามารถย้ายได้ทั้งหมด 10 ช้าง ส่วน คุณพระเศวตใหญ่ฯนั้น ได้ถูกนำไปไว้ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ตามพระราชประเพณีที่ช้างเผือกสำคัญประจำรัชกาลจะต้องอยู่ใกล้พระเจ้าแผ่นดินเพื่อความเป็นมงคล


ส่วนการดูแลนั้นจะเป็นไปตามตารางที่ค่อนข้างจะเป็นกิจวัตรประจำที่เหมือนกันทุกวัน ก็คือตอนเช้า 7 นาฬิกา ควาญจะนำช้างออกจากโรงช้างไปฝึกเข้าแถว ฝึกยืนนิ่งๆ นั่งนิ่งๆ หมอบนิ่งๆ ฝึกทำความเคารพโดยการยกงวงขึ้นจบ ฝึกรับของจากพระหัตถ์ 
ปัญหาของช้าง ไทย..ในปัจจุบัน

    
ปัญหาด้านการผสมพันธุ์
  • ช้างไม่มีโอกาสจับคู่ผสมพันธุ์ สภาพการเลี้ยงช้างในปัจจุบัน ควาญมักเลี้ยงช้างของตนแยกจากช้างตัวอื่นๆ เพื่อลดปัญหาการแย่งอาหาร และการต่อสู้ระหว่างช้าง บางพื้นที่นิยมเลี้ยงเฉพาะช้างเพศเมียเนื่องจากมีปัญหาการตกมันน้อย หรือการใช้ช้างทำงานตลอดวัน ทำให้ช้างไม่มีโอกาสในการจับคู่ผสมพันธุ์ และระหว่างที่ช้างจับคู่ผสมพันธุ์จะไม่ยอมทำงานและไม่ยอมให้ควาญเข้าใกล้ อีกทั้งยังอาจทำร้ายควาญด้วย หากช้างเพศเมียตั้งท้องก็จะไม่ทำงานทำให้ควาญเสียรายได้ และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างและลูกช้างอีกด้วย ดังนั้นควาญจึงมักไม่ยินยอมให้ช้างจับคู่ผสมพันธุ์ 
     
  • สุขภาพช้างไม่สมบูรณ์ การเลี้ยงดูช้างไม่ดี ให้ช้างทำงานหนักและไม่ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการตกมัน ทำให้ช้างมีสุขภาพไม่แข็งแรง ความสามารถในการสืบพันธุ์ก็จะลดลง 
     
  • ค่าใช้จ่ายในการผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์ช้างเลี้ยงเจ้าของช้างต้องเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างช้างต่างเพศมาผสมพันธุ์ โดยไม่มีการรับรองผลว่าจะผสมพันธุ์ติดหรือไม่ หากผสมพันธุ์ไม่ติดก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างใหม่อีกครั้ง ซึ่งเจ้าของช้างมักไม่ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ 
     
  • ความสามารถในการผสมพันธุ์ของช้างเพศผู้มีน้อย ในธรรมชาติสมาชิกของช้างในโขลงจะประกอบด้วยช้างเพศเมียที่มีอายุต่างกัน และลูกช้างในวัยแรกเกิดไปจนถึงก่อนวัยรุ่น เมื่อลูกช้างเข้าสู่วัยรุ่นจะแสดงพฤติกรรมทางเพศต่อช้างตัวอื่น ช้างเพศเมียในโขลงจะขับไล่ช้างเพศผู้ออกไปจากโขลง เป็นกลไกในการป้องกันการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด ช้างที่ถูกขับไล่อาจจะรวมโขลงกับช้างเพศผู้ตัวอื่นๆเกิดการเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ แต่ปัจจุบันความญมักเลี้ยงช้างแยกจากกันทำให้ขาดการถ่ายทอดพฤติกรรมด้านต่างๆ ช้างเพศผู้วันรุ่นหลายเชือกจึงแสดงพฤติกรรมการผสมพันธุ์ไม่เป็น 
     
  • การตายของลูกช้างแรกคลอด ในธรรมชาติแม่ช้างจะมีช้างแม่รับ ซึ่งเป็นช้างเพศเมียในโขลงที่มีความคุ้นเคยกับแม่ช้าง และมักมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกมาแล้ว คอยช่วยขณะคลอดและช่วยเลี้ยงลูกช้าง แต่ช้างเลี้ยงใกล้คลอดมักถูกนำมาไว้ใกล้บ้านมนุษย์ ส่งผลให้ช้างเกิดความเครียด อาจทำให้แม่ช้างทำร้ายลูกช้าง เลี้ยงลูกไม่เป็น หรืออาจมีการผลิตน้ำนมน้อยลง ลูกช้างจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดปัญหาต่อสุขภาพของลูกช้าง เช่น ท้องร่วง และกระดูกบาง เป็นต้น บางตัวอาจถึงกับเสียชีวิต
ช้าง..สัญลักษณ์ .. ชาติไทย

ธงสยามปี พ.ศ 2398-2459
     ช้างเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยและอยู่คู่บ้านเมืองเรามาโดยตลอด ยามศึกก็ช่วยรบจนสามารถกอบกู้เอกราชมาให้ประเทศได้ในหลายครั้ง หรือแม้กระทั่งยามบ้านเมืองสงบช้างก็ช่วยขนย้ายซุงหรือของหนักรวมทั้งเป็นพาหนะเพื่อแบ่งเบาภาระให้เราอีกมากมายมาหลายชั่วอายุคน 
      เกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น 
    
คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 

ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
การตกลุก...ของช้าง..

    ปกติในรอบ 1  ปี ช้างจะผสมพันธ์ ในช่วงฤดุหนาว ช้างตัวเมียจะโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธ์ เมื่ออายุประมาณ 18-20 ปี และสิ้นสุด เมื่ออายุ 40-50 ปี ระยะการตั้งท้องนาน 19-21 เดือน ช้างจะให้ลุกครั้งละ 1 ตัว การตั้งท้องแต่ละครั้งจะห่างกัน 3 ปี และในช่วงชีวิตของช้างจะตั้งท้องได้ลูกเฉลี่ย 3-4 ตัว

   การผสมพันธ์ ของช้าง
การตกลูกของช้าง

เมื่อตกลูกเสร็จรกของแม่ช้างจะหลุดออกมาจากอวัยวะหลังตกลูกแล้ว
ความสามารถของช้าง

  ช้างเป้นสัตว์ที่เรียนรู้ได้เร็ว..โดยมีการฝึกฝนให้ช้างปฎิบัติตามคำสั่ง จะใช้เวลาฝึกไม่นานแล้วแต่ความสามารถของช้างและการฝึกของผุ้ฝึก


 การฝึกช้างให้เชื่อฟังได้นั้นผู้ฝึกช้างต้องมีความชำนาญและใจเย็น อดทน เพราะการฝึกช้างต้องยึดหลักความปลอดภัย เป็นหลัก ควานช้างและช้างต้องเข้ากันได้อย่างดี

การฝึกช้างเพื่อลากไม้ในป่า
การฝึกช้างทรงตัว

การทักทาย
พฤติกรรมดังกล่าวของช้างสามารถโชว์และเรียกความสนใจของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี.......  
นิสัยของช้าง

     ช้างเอเชียรวมทั้งช้างไทยเป็นสัตว์ที่ฉลาด นอกจากนี้ยังมีความสุภาพ สะอาด มีความจำดี รักเจ้าของ อดทนและจำกลิ่นที่เคยชินได้ สังเกตได้จากพฤติกรรมที่ช้างจะใช้เท้าลองเหยียบเพื่อหยั่งดูว่า พื้นดินบริเวณไดอ่อนทานน้ำหนักตัวไม่ได้ ช้างจะเลี่ยงไม่เหยียบพื้นดินบริเวณนั้น ช้างจะดุร้ายเฉพาะตอนที่ตกมันเท่านั้น

ความเป็นอยู่ของช้างไทย

     ในปัจจุบันมีช้างป่าอยู่ทุกจังหวัดที่มีป่าสูง ช้างป่ามักอยู่รวมกันเป็นฝูง หรือ เป็นโขลง  ในแหล่งที่มีหญ้าและน้ำอุดมสมบูรณ์ อาจพบโขลงช้างตั้งแต่ 30-50 เชือก ถ้าภูมิประเทศแห้งแล้ง จำนวนช้างในโขลงอาจลดน้อยลง
   หัวหน้าโขลงเป็นช้างพลายที่แข็งแรงที่สุด จะทำหน้าที่เดินนำหน้าโขลง และนำไปหาอาหาร คอยปกป้องอันตราย ส่วนช้างที่แยกไปอยู่ตามลำพัง เรียกว่าช้างโทน มักเป็นช้างที่ดุร้าย
    ช้างไทยชอบอากาศเย็น จึงมักอาศัยอยู่ตามห้วย ลำธาร ไม่ชอบแดดจัด ช้างชอบอาบน้ำบ่อย ๆ ลอยคออยู่ในน้ำได้นาน และว่ายน้ำได้ดี ถึงแม้น้ำจะลึกมากช้างก็ชูงวงขึ้นหายใจได้

อาหารของช้าง

    ช้างเป็นสัตว์ไม่กินเนื้อ อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ ต้นไม้ ใบไม้ หญ้า ช้างกินอาหารคิดเป็นน้ำหนัก 250 กิโลกรัมต่อวัน

ช้างในการคมนาคมขนส่ง

   ช้างสามารถเดินบุกป่าข้ามลำคลองและขึ้นเขาไดอย่างคล่องแคล่ว การใช้ช้างเดินป่าจะใส่แหยงลงบนหลังช้าง เพื่อใช้บรรทุกคนและสิ่งของได้ ช้างสามารถบันทุกน้ำหนักได้ประมาณ 100 กิดลกรัม ดดยใช้ความเร็ว 4 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง

ช้างในอุตสาหกรรมป่าไม้
    อุตสาหกรรมป่าไม้ของไทยเริ่มขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 
     ช้างในอุตสาหกรรมป่าไม้มีวิธี คือ
1.  การชักลากไม้  2. การคัดไม้  3. การแหนบไม้  4. การโทไม้



ลักษณะและธรรมชาติของช้าง...

     ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เลี้ยงลูกด้วยนม มีขาขนาดใหญ่ 4 ขา อุ้งเท้ามีความอ่อนนุ่ม เวลาเดินจึงไม่ค่อยมีเสียง การนอนของช้างนั้น โดยธรรมชาติจะนอนตะแคงลำตัวลงกับพื้น และมีการหาวนอนเช่นเดียวกับคน ช้างจะนอนหลับช่วงสั้น ๆ เพียง 3-4 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 23.00 น. ถึง 03.00 น. ช้างจะไม่นอนกลางวัน นอกจากมีอาการไม่สบายเท่านั้น
    - งวงช้าง คือ จมูกของช้าง มีความยาวจรดพื้น ใช้สำหรับหายใจ จับ ดึง ยก ลากสิ่งของต่าง ๆ รวมทั้งหยิบอาหารเข้าปาก ปลายงวงมีรู 2 รู หลวงตลอดความยาวของงวง งวงช้างไม่มีกระดูกแข็งอยู่ภายใน จึงมีลักษณะอ่อนและแกว่งไปมาได้ง่าย เมื่อต้องการ กินน้ำ ช้างจะใช้งวงดูดน้ำเข้าไปเก็บในงวงก่อน แล้วจึงพ่นน้ำจากงวงเข้าปากอีกต่อหนึ่ง
    - งาช้าง คือ ฟันหน้าหรือเขี้ยวของช้าง งอกออกจากขากรรไกรข้างละกิ่ง งาช้างมีสีขาวนวล เริ่มโผล่ให้เห็นเมื่อช้างอายุประมาณ 2-5 ปี งาช้างเป็นสิ่งที่สวยงามและมีราคามากที่สุดในตัวช้าง งาช้างที่สวยจะมีความโค้งเรียบสม่ำเสมอจนเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม ช้างใช้งาเป็นอาวุธสำหรับป้องกันตัว งาช้าง มี 2 ชนิด คือ งาปลี มีความยาวไม่มาก แต่มีขนาดใหญ่วัดโดยรอบได้ประมาณ 15 นิ้วขึ้นไป งาเครือ หรือ งาหวาย เป็นงาที่มีลักษณะยาวรี มีความกว้างโดยรอบไม่ถึง 14 นิ้ว
    - นัยน์ตา ช้างมีนัยน์ตาเล็กมากเมื่อเทียบกับรูปร่างอันสูงใหญ่ แต่ก็สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไกลและชัดเจน
    - ใบหู มีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่คล้ายพัด โบกไปมาอยู่เสมอ เมื่อช้างกางใบหูออกจะได้ยินเสียงจากที่ไกล ๆ ได้ดีขึ้น ช้างที่มีอายุมาก ใบหูจะม้วนลงมา ขอบล่างมักเว้าแหว่ง ขอบใบหูที่เหว้าแหว่งนี้อาจใช้คาดคะเนอายุของช้างได้คร่าว ๆ ถ้าขอบใบหูเว้าแหว่งน้อยแสดงว่าอายุยังน้อย ถ้าเว้าแหว่งมากแสดงว่าอายุมาก
    - หาง หางช้างมีลักษณะกลมยาวเรียวลงไปถึงเข่า ที่ปลายหางมีขนเส้นโตดำ ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว เรียงกัน 2 แถว ตลอดความยาวของหาง ประมาณ 6-7 นิ้ว
    - เล็บ ช้างมีนิ้วเท้าสั้นที่สุดจนเห็นอุ้งเท้า มีเล็บโผล่ให้เห็นเป็นบางเล็บ ช้างส่วนมากมี 18 เล็บ คือ เท้าหน้าข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังข้างละ 4 เล็บ ช้างบางเชือกมี 16 เล็บ ในขณะที่บางเชือกมีถึง 20 เล็บ
การตั้งท้องและตกลูก

    ช้างตัวเมียที่ร่างกายสมบูรณ์จะเริ่มมีลูกได้ตั้งแต่อายุ 15-16 ปีขึ้นไปจนถึง 50 ปี ตลอดชีวิตของแม่ช้างแต่ละเชือกอาจมีลูกได้ 3-4 เชือก โดยปกติแม่ช้างจะตกลูกได้เพียงครั้งละ 1 เชือกเท่านั้น และจะมีลูกห่างกันราว 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสภาพแวดล้อมของช้างด้วย ช้างบ้านมักจะมีลูกได้น้อยกว่าช้างป่าที่อยู่อย่างอิสระ และไม่ต้องทำงานหนัก
    การผสมพันธุ์ของช้างไม่เลือกฤดู แต่ส่วนใหญ่มักเป็นฤดูร้อน และจะตกลูกราวเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช้างใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 221-22 เดือน การตั้งท้องของช้างนั้นสังเกตได้ยาก เพราะช้างมีขนาดตัวที่ใหญ่และอ้วนกลม คนเลี้ยงจึงต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของช้าง เช่น อาการอุ้ยอ้าย เต้านมขยาย น้ำนมไหล และไม่ยอมทำงาน เป็นต้น
    สัญชาตญาณอีกอย่างหนึ่งของแม่ช้างก็คือ แม่ช้างมักหาช้างพังด้วยกันไว้เป็นเพื่อน เรียกว่า "แม่รับ" ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยเลี้ยงลูกช้าง แม่รับจะรักและหวงลูกช้างยิ่งกว่าแม่จริงเสียอีก เมื่อช้างใกล้ถึงกำหนดที่จะตกลูกช้างจะหาบริเวณที่มีหญ้าอ่อนหรือพื้นดินนุ่มไว้รองรับลูกที่จะเกิดมา ก่อนตกลูก แม่ช้างจะมีอาการเจ็บท้องและส่งเสียงร้องโอดครวญนานประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยมักจะตกลูกในเวลากลางคืน
    การตกลูก ช้างจะย่อขาหลังทั้งสอง ลดตัวทางส่วนหลังให้ต่ำคล้ายการนั่งยอง ๆ เพื่อไม่ให้ลูกช้างที่เกิดใหม่ ตากจากที่สูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
    ลูกช้างที่เกิดใหม่จะมีเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ แม่รับจะช่วยฉีกเยื้อนี้ออก หรือบางครั้งแม่ช้างก็จะฉีกเอง ลูกช้างจะนอนตะแคงนิ่ง ๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วจึงกระดิกหู หาง งวง และขาอย่างช้า ๆ จากนั้น จะค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน และสามารถเดินได้เลย ลูกช้างแรกเกิดมีขนยาว งวงสั้น สูงประมาณ 2-3 ฟุต งวงยาวประมาณ 10-15 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม แม่รับจะช่วยประคับประคองลูกช้างตลอดเวลา จนกระทั่งเข้าไปกินนมแม่ได้ แม่ช้างมีนม 2 เต้า ลูกข้างจะม้วนงวงขึ้นเพื่อใช้ปากดูดนมแม่ ลูกช้างกิน นมแม่นานหลายเดือนถึงแม้จะกินหญ้าได้แล้วก็ตาม แม่รับจะคอยดูแลลูกช้างตลอดจนดาลูกช้างไปหัดกินหญ้าอ่อน ลูกช้างมักซุกซน ทำให้ได้รับอันตรายเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ เช่น โดนไม้กลิ้งทับ หรือถูกสัตว์ มีพิษกัด แม่รับจึงมีหน้าที่คอยดูแลและระวังภัยให้ลูกช้างเป็นเวลาหลายปี ช้างรักลูกมาก ถ้าลูกช้างตาย แม่ช้างจะโศกเศร้ามาก บางครั้งถึงกับร้องไห้น้ำตาไหล และไม่ยอมกินอาหารเป็นเวลานาน