วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ช้างเผือกของไทย..ช้างคู่บ้านคู่เมือง

     เป็นช้างพลายรูปงาม งาขวา - ซ้ายเรียวงาม กายสีดอกบัวแดง ขนตัวขุมละสองเส้น ขนโขมด สีน้ำผึ้งโปร่ง ขนบรรทัดหลังสีน้ำ ผึ้งโปร่งเจือแดง ขนหูสีขาว ขนหางสีน้ำผึ้งเจือแดงแก่ ตาขาวเจือเหลือง เพดานปากขาวเจือชมพู อัณฑะโกศขาวเจือชมพู เล็บขาว เจือเหลืองอ่อน หูและหางงามพร้อม เสียงเป็นศัพท์แตรงอน 

   ช้างเผือก
ภาพการเดินขบวนของช้างเผือก


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชโรงช้างต้นวังไกลกังวล


พระมหากระรุณาธิคุณต่อช้างไทย...............
.สพ... พิพัฒนฉัตร กล่าวถึงการดูแลช้างสำคัญว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นว่าพระราชวังสวนจิตรลดานั้น มีหน่วยงานตามพระราชดำริมากขึ้น ทำให้ไม่มีบริเวณเพียงพอให้ช้างได้เดินออกกำลังที่เพียงพอ จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายช้างสำคัญเหล่านี้ไปอยู่ในโรงช้างหลวงที่จังหวัดลำปางและสกลนคร เพื่อให้ช้างเดินออกกำลังกาย และทดลองใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ โดยมีผู้ดูแลช้างสำคัญทุกช้าง
โดยช่วงแรกย้ายไปไม่กี่ช้างก่อน และให้มีการถวายรายงานการปรับตัวของช้างเป็นประจำ จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายปี จึงสามารถย้ายได้ทั้งหมด 10 ช้าง ส่วน คุณพระเศวตใหญ่ฯนั้น ได้ถูกนำไปไว้ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ตามพระราชประเพณีที่ช้างเผือกสำคัญประจำรัชกาลจะต้องอยู่ใกล้พระเจ้าแผ่นดินเพื่อความเป็นมงคล


ส่วนการดูแลนั้นจะเป็นไปตามตารางที่ค่อนข้างจะเป็นกิจวัตรประจำที่เหมือนกันทุกวัน ก็คือตอนเช้า 7 นาฬิกา ควาญจะนำช้างออกจากโรงช้างไปฝึกเข้าแถว ฝึกยืนนิ่งๆ นั่งนิ่งๆ หมอบนิ่งๆ ฝึกทำความเคารพโดยการยกงวงขึ้นจบ ฝึกรับของจากพระหัตถ์ 
ปัญหาของช้าง ไทย..ในปัจจุบัน

    
ปัญหาด้านการผสมพันธุ์
  • ช้างไม่มีโอกาสจับคู่ผสมพันธุ์ สภาพการเลี้ยงช้างในปัจจุบัน ควาญมักเลี้ยงช้างของตนแยกจากช้างตัวอื่นๆ เพื่อลดปัญหาการแย่งอาหาร และการต่อสู้ระหว่างช้าง บางพื้นที่นิยมเลี้ยงเฉพาะช้างเพศเมียเนื่องจากมีปัญหาการตกมันน้อย หรือการใช้ช้างทำงานตลอดวัน ทำให้ช้างไม่มีโอกาสในการจับคู่ผสมพันธุ์ และระหว่างที่ช้างจับคู่ผสมพันธุ์จะไม่ยอมทำงานและไม่ยอมให้ควาญเข้าใกล้ อีกทั้งยังอาจทำร้ายควาญด้วย หากช้างเพศเมียตั้งท้องก็จะไม่ทำงานทำให้ควาญเสียรายได้ และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างและลูกช้างอีกด้วย ดังนั้นควาญจึงมักไม่ยินยอมให้ช้างจับคู่ผสมพันธุ์ 
     
  • สุขภาพช้างไม่สมบูรณ์ การเลี้ยงดูช้างไม่ดี ให้ช้างทำงานหนักและไม่ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการตกมัน ทำให้ช้างมีสุขภาพไม่แข็งแรง ความสามารถในการสืบพันธุ์ก็จะลดลง 
     
  • ค่าใช้จ่ายในการผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์ช้างเลี้ยงเจ้าของช้างต้องเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างช้างต่างเพศมาผสมพันธุ์ โดยไม่มีการรับรองผลว่าจะผสมพันธุ์ติดหรือไม่ หากผสมพันธุ์ไม่ติดก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างใหม่อีกครั้ง ซึ่งเจ้าของช้างมักไม่ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ 
     
  • ความสามารถในการผสมพันธุ์ของช้างเพศผู้มีน้อย ในธรรมชาติสมาชิกของช้างในโขลงจะประกอบด้วยช้างเพศเมียที่มีอายุต่างกัน และลูกช้างในวัยแรกเกิดไปจนถึงก่อนวัยรุ่น เมื่อลูกช้างเข้าสู่วัยรุ่นจะแสดงพฤติกรรมทางเพศต่อช้างตัวอื่น ช้างเพศเมียในโขลงจะขับไล่ช้างเพศผู้ออกไปจากโขลง เป็นกลไกในการป้องกันการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด ช้างที่ถูกขับไล่อาจจะรวมโขลงกับช้างเพศผู้ตัวอื่นๆเกิดการเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ แต่ปัจจุบันความญมักเลี้ยงช้างแยกจากกันทำให้ขาดการถ่ายทอดพฤติกรรมด้านต่างๆ ช้างเพศผู้วันรุ่นหลายเชือกจึงแสดงพฤติกรรมการผสมพันธุ์ไม่เป็น 
     
  • การตายของลูกช้างแรกคลอด ในธรรมชาติแม่ช้างจะมีช้างแม่รับ ซึ่งเป็นช้างเพศเมียในโขลงที่มีความคุ้นเคยกับแม่ช้าง และมักมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกมาแล้ว คอยช่วยขณะคลอดและช่วยเลี้ยงลูกช้าง แต่ช้างเลี้ยงใกล้คลอดมักถูกนำมาไว้ใกล้บ้านมนุษย์ ส่งผลให้ช้างเกิดความเครียด อาจทำให้แม่ช้างทำร้ายลูกช้าง เลี้ยงลูกไม่เป็น หรืออาจมีการผลิตน้ำนมน้อยลง ลูกช้างจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดปัญหาต่อสุขภาพของลูกช้าง เช่น ท้องร่วง และกระดูกบาง เป็นต้น บางตัวอาจถึงกับเสียชีวิต
ช้าง..สัญลักษณ์ .. ชาติไทย

ธงสยามปี พ.ศ 2398-2459
     ช้างเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยและอยู่คู่บ้านเมืองเรามาโดยตลอด ยามศึกก็ช่วยรบจนสามารถกอบกู้เอกราชมาให้ประเทศได้ในหลายครั้ง หรือแม้กระทั่งยามบ้านเมืองสงบช้างก็ช่วยขนย้ายซุงหรือของหนักรวมทั้งเป็นพาหนะเพื่อแบ่งเบาภาระให้เราอีกมากมายมาหลายชั่วอายุคน 
      เกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น 
    
คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 

ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
การตกลุก...ของช้าง..

    ปกติในรอบ 1  ปี ช้างจะผสมพันธ์ ในช่วงฤดุหนาว ช้างตัวเมียจะโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธ์ เมื่ออายุประมาณ 18-20 ปี และสิ้นสุด เมื่ออายุ 40-50 ปี ระยะการตั้งท้องนาน 19-21 เดือน ช้างจะให้ลุกครั้งละ 1 ตัว การตั้งท้องแต่ละครั้งจะห่างกัน 3 ปี และในช่วงชีวิตของช้างจะตั้งท้องได้ลูกเฉลี่ย 3-4 ตัว

   การผสมพันธ์ ของช้าง
การตกลูกของช้าง

เมื่อตกลูกเสร็จรกของแม่ช้างจะหลุดออกมาจากอวัยวะหลังตกลูกแล้ว
ความสามารถของช้าง

  ช้างเป้นสัตว์ที่เรียนรู้ได้เร็ว..โดยมีการฝึกฝนให้ช้างปฎิบัติตามคำสั่ง จะใช้เวลาฝึกไม่นานแล้วแต่ความสามารถของช้างและการฝึกของผุ้ฝึก


 การฝึกช้างให้เชื่อฟังได้นั้นผู้ฝึกช้างต้องมีความชำนาญและใจเย็น อดทน เพราะการฝึกช้างต้องยึดหลักความปลอดภัย เป็นหลัก ควานช้างและช้างต้องเข้ากันได้อย่างดี

การฝึกช้างเพื่อลากไม้ในป่า
การฝึกช้างทรงตัว

การทักทาย
พฤติกรรมดังกล่าวของช้างสามารถโชว์และเรียกความสนใจของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี.......  
นิสัยของช้าง

     ช้างเอเชียรวมทั้งช้างไทยเป็นสัตว์ที่ฉลาด นอกจากนี้ยังมีความสุภาพ สะอาด มีความจำดี รักเจ้าของ อดทนและจำกลิ่นที่เคยชินได้ สังเกตได้จากพฤติกรรมที่ช้างจะใช้เท้าลองเหยียบเพื่อหยั่งดูว่า พื้นดินบริเวณไดอ่อนทานน้ำหนักตัวไม่ได้ ช้างจะเลี่ยงไม่เหยียบพื้นดินบริเวณนั้น ช้างจะดุร้ายเฉพาะตอนที่ตกมันเท่านั้น

ความเป็นอยู่ของช้างไทย

     ในปัจจุบันมีช้างป่าอยู่ทุกจังหวัดที่มีป่าสูง ช้างป่ามักอยู่รวมกันเป็นฝูง หรือ เป็นโขลง  ในแหล่งที่มีหญ้าและน้ำอุดมสมบูรณ์ อาจพบโขลงช้างตั้งแต่ 30-50 เชือก ถ้าภูมิประเทศแห้งแล้ง จำนวนช้างในโขลงอาจลดน้อยลง
   หัวหน้าโขลงเป็นช้างพลายที่แข็งแรงที่สุด จะทำหน้าที่เดินนำหน้าโขลง และนำไปหาอาหาร คอยปกป้องอันตราย ส่วนช้างที่แยกไปอยู่ตามลำพัง เรียกว่าช้างโทน มักเป็นช้างที่ดุร้าย
    ช้างไทยชอบอากาศเย็น จึงมักอาศัยอยู่ตามห้วย ลำธาร ไม่ชอบแดดจัด ช้างชอบอาบน้ำบ่อย ๆ ลอยคออยู่ในน้ำได้นาน และว่ายน้ำได้ดี ถึงแม้น้ำจะลึกมากช้างก็ชูงวงขึ้นหายใจได้

อาหารของช้าง

    ช้างเป็นสัตว์ไม่กินเนื้อ อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ ต้นไม้ ใบไม้ หญ้า ช้างกินอาหารคิดเป็นน้ำหนัก 250 กิโลกรัมต่อวัน

ช้างในการคมนาคมขนส่ง

   ช้างสามารถเดินบุกป่าข้ามลำคลองและขึ้นเขาไดอย่างคล่องแคล่ว การใช้ช้างเดินป่าจะใส่แหยงลงบนหลังช้าง เพื่อใช้บรรทุกคนและสิ่งของได้ ช้างสามารถบันทุกน้ำหนักได้ประมาณ 100 กิดลกรัม ดดยใช้ความเร็ว 4 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง

ช้างในอุตสาหกรรมป่าไม้
    อุตสาหกรรมป่าไม้ของไทยเริ่มขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 
     ช้างในอุตสาหกรรมป่าไม้มีวิธี คือ
1.  การชักลากไม้  2. การคัดไม้  3. การแหนบไม้  4. การโทไม้



ลักษณะและธรรมชาติของช้าง...

     ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เลี้ยงลูกด้วยนม มีขาขนาดใหญ่ 4 ขา อุ้งเท้ามีความอ่อนนุ่ม เวลาเดินจึงไม่ค่อยมีเสียง การนอนของช้างนั้น โดยธรรมชาติจะนอนตะแคงลำตัวลงกับพื้น และมีการหาวนอนเช่นเดียวกับคน ช้างจะนอนหลับช่วงสั้น ๆ เพียง 3-4 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 23.00 น. ถึง 03.00 น. ช้างจะไม่นอนกลางวัน นอกจากมีอาการไม่สบายเท่านั้น
    - งวงช้าง คือ จมูกของช้าง มีความยาวจรดพื้น ใช้สำหรับหายใจ จับ ดึง ยก ลากสิ่งของต่าง ๆ รวมทั้งหยิบอาหารเข้าปาก ปลายงวงมีรู 2 รู หลวงตลอดความยาวของงวง งวงช้างไม่มีกระดูกแข็งอยู่ภายใน จึงมีลักษณะอ่อนและแกว่งไปมาได้ง่าย เมื่อต้องการ กินน้ำ ช้างจะใช้งวงดูดน้ำเข้าไปเก็บในงวงก่อน แล้วจึงพ่นน้ำจากงวงเข้าปากอีกต่อหนึ่ง
    - งาช้าง คือ ฟันหน้าหรือเขี้ยวของช้าง งอกออกจากขากรรไกรข้างละกิ่ง งาช้างมีสีขาวนวล เริ่มโผล่ให้เห็นเมื่อช้างอายุประมาณ 2-5 ปี งาช้างเป็นสิ่งที่สวยงามและมีราคามากที่สุดในตัวช้าง งาช้างที่สวยจะมีความโค้งเรียบสม่ำเสมอจนเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม ช้างใช้งาเป็นอาวุธสำหรับป้องกันตัว งาช้าง มี 2 ชนิด คือ งาปลี มีความยาวไม่มาก แต่มีขนาดใหญ่วัดโดยรอบได้ประมาณ 15 นิ้วขึ้นไป งาเครือ หรือ งาหวาย เป็นงาที่มีลักษณะยาวรี มีความกว้างโดยรอบไม่ถึง 14 นิ้ว
    - นัยน์ตา ช้างมีนัยน์ตาเล็กมากเมื่อเทียบกับรูปร่างอันสูงใหญ่ แต่ก็สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไกลและชัดเจน
    - ใบหู มีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่คล้ายพัด โบกไปมาอยู่เสมอ เมื่อช้างกางใบหูออกจะได้ยินเสียงจากที่ไกล ๆ ได้ดีขึ้น ช้างที่มีอายุมาก ใบหูจะม้วนลงมา ขอบล่างมักเว้าแหว่ง ขอบใบหูที่เหว้าแหว่งนี้อาจใช้คาดคะเนอายุของช้างได้คร่าว ๆ ถ้าขอบใบหูเว้าแหว่งน้อยแสดงว่าอายุยังน้อย ถ้าเว้าแหว่งมากแสดงว่าอายุมาก
    - หาง หางช้างมีลักษณะกลมยาวเรียวลงไปถึงเข่า ที่ปลายหางมีขนเส้นโตดำ ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว เรียงกัน 2 แถว ตลอดความยาวของหาง ประมาณ 6-7 นิ้ว
    - เล็บ ช้างมีนิ้วเท้าสั้นที่สุดจนเห็นอุ้งเท้า มีเล็บโผล่ให้เห็นเป็นบางเล็บ ช้างส่วนมากมี 18 เล็บ คือ เท้าหน้าข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังข้างละ 4 เล็บ ช้างบางเชือกมี 16 เล็บ ในขณะที่บางเชือกมีถึง 20 เล็บ
การตั้งท้องและตกลูก

    ช้างตัวเมียที่ร่างกายสมบูรณ์จะเริ่มมีลูกได้ตั้งแต่อายุ 15-16 ปีขึ้นไปจนถึง 50 ปี ตลอดชีวิตของแม่ช้างแต่ละเชือกอาจมีลูกได้ 3-4 เชือก โดยปกติแม่ช้างจะตกลูกได้เพียงครั้งละ 1 เชือกเท่านั้น และจะมีลูกห่างกันราว 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสภาพแวดล้อมของช้างด้วย ช้างบ้านมักจะมีลูกได้น้อยกว่าช้างป่าที่อยู่อย่างอิสระ และไม่ต้องทำงานหนัก
    การผสมพันธุ์ของช้างไม่เลือกฤดู แต่ส่วนใหญ่มักเป็นฤดูร้อน และจะตกลูกราวเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช้างใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 221-22 เดือน การตั้งท้องของช้างนั้นสังเกตได้ยาก เพราะช้างมีขนาดตัวที่ใหญ่และอ้วนกลม คนเลี้ยงจึงต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของช้าง เช่น อาการอุ้ยอ้าย เต้านมขยาย น้ำนมไหล และไม่ยอมทำงาน เป็นต้น
    สัญชาตญาณอีกอย่างหนึ่งของแม่ช้างก็คือ แม่ช้างมักหาช้างพังด้วยกันไว้เป็นเพื่อน เรียกว่า "แม่รับ" ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยเลี้ยงลูกช้าง แม่รับจะรักและหวงลูกช้างยิ่งกว่าแม่จริงเสียอีก เมื่อช้างใกล้ถึงกำหนดที่จะตกลูกช้างจะหาบริเวณที่มีหญ้าอ่อนหรือพื้นดินนุ่มไว้รองรับลูกที่จะเกิดมา ก่อนตกลูก แม่ช้างจะมีอาการเจ็บท้องและส่งเสียงร้องโอดครวญนานประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยมักจะตกลูกในเวลากลางคืน
    การตกลูก ช้างจะย่อขาหลังทั้งสอง ลดตัวทางส่วนหลังให้ต่ำคล้ายการนั่งยอง ๆ เพื่อไม่ให้ลูกช้างที่เกิดใหม่ ตากจากที่สูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
    ลูกช้างที่เกิดใหม่จะมีเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ แม่รับจะช่วยฉีกเยื้อนี้ออก หรือบางครั้งแม่ช้างก็จะฉีกเอง ลูกช้างจะนอนตะแคงนิ่ง ๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วจึงกระดิกหู หาง งวง และขาอย่างช้า ๆ จากนั้น จะค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน และสามารถเดินได้เลย ลูกช้างแรกเกิดมีขนยาว งวงสั้น สูงประมาณ 2-3 ฟุต งวงยาวประมาณ 10-15 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม แม่รับจะช่วยประคับประคองลูกช้างตลอดเวลา จนกระทั่งเข้าไปกินนมแม่ได้ แม่ช้างมีนม 2 เต้า ลูกข้างจะม้วนงวงขึ้นเพื่อใช้ปากดูดนมแม่ ลูกช้างกิน นมแม่นานหลายเดือนถึงแม้จะกินหญ้าได้แล้วก็ตาม แม่รับจะคอยดูแลลูกช้างตลอดจนดาลูกช้างไปหัดกินหญ้าอ่อน ลูกช้างมักซุกซน ทำให้ได้รับอันตรายเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ เช่น โดนไม้กลิ้งทับ หรือถูกสัตว์ มีพิษกัด แม่รับจึงมีหน้าที่คอยดูแลและระวังภัยให้ลูกช้างเป็นเวลาหลายปี ช้างรักลูกมาก ถ้าลูกช้างตาย แม่ช้างจะโศกเศร้ามาก บางครั้งถึงกับร้องไห้น้ำตาไหล และไม่ยอมกินอาหารเป็นเวลานาน

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555


จังหวัด...สุรินทร์...ถิ่นแห่งเมืองช้าง...



หมู่บ้านช้างแห่งสุรินทร์
          ที่บ้านตากลาง หมู่บ้านที่ ๙ ของตำบลกระโพ  อำเภอท่าตูมนั้น  เป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวสุรินทร์ เชื้อสายกวยกลุ่มใหญ่ซึ่งเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตอันงดงาม ระหว่างคนกับช้างเช่นบรรพบุรุษ  อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๔  (สุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ก่อนถึงอำเภอท่าตูม

          จะมีทางแยกซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ ๓๖ เข้าปากทางบ้านกระโพตรงเข้าไปตามถนนลาดยางอีกประมาณ ๒๒ กิโลเมตร ขับรถเข้าไปสะดวกไม่ต้องกลัวหลงทาง เพราะมีป้ายทางเข้าหมู่บ้านช้างสุรินทร์เป็นระยะ ๆ ด้วยฝีมือการบินไทยผู้น่ารัก (เพราะช้างเปรียบเหมือนเครื่องบินจัมโบ้ของการบินไทย) หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพนี้ มีคำขวัญเฉพาะถิ่นว่า "ตากลาง แหล่งช้างใหญ่ เผ่าไทยกวย สวยธรรมชาติ หาดทราบงาม แม่น้ำสองสาย ผ้าไหมเนื้อดี สามัคคีเป็นเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม งามล้ำงานประเพณี"เป็นคำขวัญที่ยามเฟื้อยไม่แพ้คำขวัญของจังหวัด ก็เพราะว่าหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านช้างที่มีจำนวนช้างมากที่สุดของสุรินทร์  คือประมาณ ๒๖๐ เชือก

          เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านตากลางเป็นที่นาป่าละเมาะสลับกับป่าโปร่ง มีลำน้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูล บริเวณพื้นที่แห่งนี้ในอดีตกาลจึงเหมาะสมต่อการเลี้ยงช้างเป็นอย่างดี  สมัยก่อนนั้นช้างที่นี่เป็นช้างป่าที่จับมาได้ด้วยการไปเที่ยว "โพนช้าง" หรือ "คล้องช้าง" บริเวณชายแดนต่อเขตประเทศไทยและกัมพูชา  เพราะเป็นบริเวณที่ช้างป่าชุกชุม  เมื่อสถานการณ์ทางด้านการเมืองการปกครองเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถเข้าไปจับช้างป่าได้ดังเดิม ชาวบ้านจึงเลี้ยงช้างที่มีอยู่เป็นช้างบ้าน  เป็นสัตว์เลี้ยงของครอบครัวที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาเป็นหลัก เมื่อมีงานบุญ  หรือกิจกรรมอันใดก็จะนำช้างไปร่วมด้วยเหมือนบุคคลสำคัญในครอบครัว


          งานประเพณีบวชนาคช้าง

          งานประเพณีที่สำคัญของชาวหมู่บ้านช้างตากลางและใกล้เคียงนั้นมีอยู่ ๒ งานด้วยกัน ได้แก่ งานบวชนาคช้างในเดือน ๖ (ประมาณเดือนพฤษภาคม)  และงานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์ ในเดือน ๑๒ (เสาร์-อาทิตย์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน) ที่ไม่ว่าชาวกวยหมู่บ้านช้างแห่งนี้จะอยู่แห่งหนตำบลใดของประเทศ ก็จะเดินทางกลับบ้านเพื่อมาร่วมงานประเพณีของตนอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

          งานประเพณีบวชนาคช้าง หรืองานบวชอะจึงเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวกวยตั้งแต่อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านตากลางประมาณเกือบ ๒๐๐ ปีมาแล้ว  ตามคตินิยมที่นับถือผีประกอบกับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างอย่างแนบแน่นเมื่อคนรุ่นหลังได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเหมือนชาวพุทธทั่วไปในดินแดนแถบนี้   จึงรวมความเชื่อและศรัทธาปฏิบัติเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มชนของตนเองด้วยการบวชนาคช้าง  นั่นหมายถึงว่าในการที่ชาวกวยจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์เช่นพุทธศาสนิกชน  ต้องมีขบวนแห่แหนนาคทุกองค์ด้วยการขี่ช้าง  บางที่เรียกว่าขี่ช้างแห่นาค  แต่ชาวบ้านเรียกว่างานบวชนาคช้าง  (ที่จริงน่าจะเรียกว่างานบวชพระ แห่นาคขบวนช้าง) ที่ชาวบ้านเอ่ยอย่างภาคภูมิใจว่าเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้   เพราะมีขบวนช้างร่วมแห่นาคนับร้อยเชือก มีนาคร่วมแห่นับร้อยคน มีขบวนแห่ยาวไกลไม่น้อยกว่ากิโลเมตร

          สาเหตุที่มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้องในการบวชนอกจากเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนผูกพันกับช้างเช่น ชาวกวย สุรินทร์และชาวไทยพวน ศรีสัชนาลัยแล้ว ยังเป็นคตินิยมสอดคล้องกับมหาชาติชาดก (กัณฑ์พระเวสสันดร) ที่กล่าวถึงว่า ภายหลังจากพระเวสสันดรเสด็จออกทรงผนวก ณ ป่าหิมพานต์  แล้วชาวเมืองสีพีต่างเข้าใจและอภัยให้ (ตอนแรกชาวเมืองสีพีไม่พอใจที่พระองค์พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ซึ่งเป็นช้างสำคัญคู่เมืองแก่พราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ไป) พระเจ้ากรุงสัญชัยได้จัดขบวนช้างขบวนม้าที่ตกแต่งอย่างสมพระเกียรติไปรับพระเวสสันดรเข้าเมือง

          ส่วนวิธีการจะขึ้นอยู่กับว่าเมืองไหนนำขบวนแห่พระเวสสันดรตามมหาชาติชาดรมาประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมกับท้องถิ่นของตนอย่างไรเท่านั้นเอง เพราะเพียงแค่ขบวนช้างที่ศรีสัชนาลัยและสุรินทร์ก็ต่างกันแล้ว  ที่จะเหมือนกันก็คือพ่อแม่ที่หวังจะได้อานิสงส์จากการบวชของลูกตนเท่านั้น

          ดังนั้นเมื่อครอบครัวใดมีลูกชายอายุครบบวช คือ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พ่อแม่จะต้องจัดการบวชให้ลูกชายเสียก่อนซึ่งส่วนใหญ่จะทำการบวชก่อนเข้าพรรษาตามพุทธบัญญัติที่พระภิกษุสงฆ์ต้องจำพรรษาอยู่วัด  เพื่อจะได้มีเวลาศึกษาพระธรรมวินัยได้อย่างเคร่งครัด แต่การบวชของชาวกวยออกจะเป็นกลุ่มพิเศษเหมือนชาวไตที่แม่ฮ่องสอนบวชลูกแก้ว ชาวไทยพวนหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีการขี่ช้างบวชนาคเหมือนกัน คือกำหนดช่วงเวลาบวชตามประเพณีของท้องถิ่นตน ชาวไตและชาวไทยพวน ๒ กลุ่มแรกบวชในเดือนเมษายนที่กำลังมีอากาศร้อนจัดและว่างจากภารกิจหลักในรอบปี  หากชาวกวยที่บ้านตากลาง กำหนดพิธีงานบวชในเทศกาลวิสาขบูชา หรือระหว่างวันเพ็ญขึ้น ๑๓-๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ โดยก่อนหน้าวันงาน บรรดาพ่อแม่ของชายหนุ่มที่มีอายุครบบวชจะนัดบวชพร้อมกัน เพื่อให้เป็นงานใหญ่ของหมู่บ้าน  ที่สำคัญนาคจะต้องร่วมกันขี่ช้างแห่แหนกันไปทั้งหมู่บ้านถึงจะได้บุญกุศลแรง  จึงเป็นงานเดียวในโลกอีกเช่นกันที่ช้างจะมาชุมนุมกันอย่างมากมายไม่แพ้งานแสดงของช้าง

          แต่ทั้งสองงานนี้นับได้ว่าเป็นงานที่ชาวกวยและช้างคืนสู่ถิ่น เหมือนชาวเหนือกลับบ้านในงานสงกรานต์ และชาวใต้กลับบ้านในงานบุญเดือนสิบทีเดียว


           วันโฮม ทำขวัญนาค

          วันแรกของการบวชนาคช้างคือวันโฮม หรือวันรวม ก็เหมือนงานบวชทั่วไปที่จะมีพิธีทำขวัญนาค  ผู้ที่บวชต้องหมั่นท่องบทสวดมนต์และขั้นตอนการปฏิบัติตนต่าง ๆ ให้แม่นยำพอสมควร พอถึงพิธีโกนผม ที่พระอุปัชฌาย์จะเริ่มตัดปอยผมแรกให้ก่อน ถึงจะเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และเพื่อน ๆ ตามลำดับ ตกค่ำนาคที่ถูกโกนผมโกนคิ้วจนเกลี้ยงเกลาแล้วแต่งชุดขาวและเครื่องประดับบรรดามี  ก็นั่งพนมมือรับฟังหมอขวัญกล่อมขวัญไป  ผองเพื่อนก็เฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ บางคนรับศีล ๕ ตามนาค แต่เพื่อนชายส่วนใหญ่คงจะยกเว้นศิลข้อ ๕ ที่ว่าให้ละเว้นการดื่มสุราเครื่องดองของเมา  ก็เพราะเป็นประเพณีของชาวกวยอีกนั่นแหละที่มักอ้างคำขวัญประจำ (ตัว) ว่า เป็นชาวสุรินทร์ต้องดื่มสุรา  มิฉะนั้นไม่ใช่ชาวสุรินทร์ แล้วสุราที่ดื่มก็ต้องแรงขนาด ๔๐ ดีกรี หรือเหล้าขาวที่ชาวบ้านนิยมมากว่าถูกคอดี แต่ชาวกรุง หรือชาวต่างถิ่นที่เข้าไปเที่ยวชมงานลองเหล้าขาวตามคนละอึกสองอึกก็หน้าเบ้  เดินเป๋กันเป็นแถว เพราะไม่คุ้นกับฤทธิ์เหล้าขาวอย่างชาวบ้านมาก่อน


           วันที่สอง  ไฮไลต์ขบวนแห่ขี่ช้างบวชนาค

          วันนี้ทั้งหมู่บ้านคึกคักกันแต่เช้า  เพราะต้องแต่งองค์ทรงเครื่องให้ทั้งคนและช้างที่เข้าพิธีบวช  คนน่ะไม่เท่าไหร่เพราะพ่อแม่พี่น้องช่วยกันรุมแต่งหน้าทาแป้ง สวม "จอม" ที่เหมือนเทริดซึ่งทำด้วยกระดาษสี และการแต่งกายไม่เน้นการแต่งชุดขาวเพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนที่อื่น  เขาใช้เสื้อขาวอย่างเดียว  นอกนั้นนุ่งผ้าพื้นบ้านที่เป็นผ้าทอมือของชาวกวย สีสันเข้มขรึมตัดกัน เป็นโสร่งเปราะฮ์ (โสร่งชาย) มีลักษณะเป็นตารางใหญ่ สีแดงสลับเขียว มีริ้วตัดตรงกลางตลอดผืน แม้แต่ร่มที่กางให้นาค หรือพระก็ใช้ผ้าทอพื้นเมืองมาตกแต่งปลิวลมไสวไปตลอดทาง

          สำหรับช้างพาหนะสำคัญของนาคก็ถูกจับอาบน้ำแต่งตัวแต่เช้าเหมือนกัน ช้างอาบน้ำสมัยนี้ถ้าใครที่เลี้ยงช้างมีบ้านอยู่ใกล้ลำห้วย หนอง คลอง บึง ก็คงพาช้างไปอาบน้ำสะดวก แต่ในยุคปัจจุบันที่การประปาภูมิภาคเข้าไปถึงหมู่บ้านคนและช้างจะได้รับความสะดวกในการอาบน้ำคือต่อสายยางจากท่อประปาอาบกันตรงลานบ้านเลย ไม่มีใครกล้าหาญมารับจ้างอุ้มช้างอาบน้ำ  มีแต่ช้างดูดน้ำพ่นใส่คนอย่างคึกคะนองที่ได้อาบน้ำเย็นสบาย ไม่หงุดหงิดอาละวาด แม้คนจะล้างเอาโคลนที่เกาะเลอะเทอะตามผิวหนังช้างออกไป เพราะคนอยากให้ช้างสะอาด ในขณะเดียวกันช้างคงคิดในใจว่าโคลนเหมือนแป้งที่ทาตัวแล้วสบายดีต่างหาก

          เมื่ออาบน้ำให้ช้างสะอาดสะอ้านดีแล้ว ควาญช้างก็จะบรรจงแต่ตัวให้โดยใช้ปูน (กินหมาก) สีขาวทาสีเป็นลายเส้นตามหัว งวง ลำตัว ไปจนถึงหางแบบฟรีสไตล์ เขียนขอบตา แม่ไม่มีทาปาก (เพราะมองไม่เห็น) บ้างก็เขียนตัวหนังสือเป็นชื่อช้าง เป็นวลีรุ่น ๆ ให้กวนใจคนอ่านเหมือนมองท้ายรถสิบล้อ เช่นว่า "น้องจ๋ารอพี่บวชก่อน" "ลูกขอลาบวช" "พี่มารับเขาบวช" อ่านแล้วยังพอทำเนาเข้ากับบรรยากาศดี บางรายเขียนส่อพฤติกรรมเหี้ยมหาญนี่กระไร เป็นต้นว่า "ปีศาจสุรา" "ก็อดอาร์มี" "ยุวชนทหาร บวชแล้วพี่ขอรบ" ส่วนประเภทไม่เขียนตัวอักษรก็เล่นง่าย ๆ เหมือนจำมาจากภาพเขียนสี เพียงแค่เอามือจุ่มปูนขาวแล้ววางทาบแปะ ๆ ไปตามตัวช้างก็ปรากฏเป็นรูปรอยฝ่ามือมนุษย์ยุกก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม เพียงแต่ที่โน่นเป็นสีแดง ที่นี่เป็นสีขาว แต้มสีสันอื่นก็ใช้สีธรรมชาติ เช่น ขมิ้น ให้สีส้มสดใสขึ้นมาหน่อย แล้วก็ไม่กัดทำลายผิวของช้างด้วย

          หลังจากนั้นจึงเป็นขั้นตอนของการแต่งองค์ทรงเครื่องช้าง อย่างแรกบรรจุปูเปลือกไม้ประโดนที่ตีให้แตกเป็นเยื่อไม้หนารองไว้ก่อน ตามด้วยผ้ากระสอบป่านอีกปีก หรือผ้าห่มหยาบ ๆ พื้นบ้าน  ที่พิถีพิพันกว่านั้นอาจเป็นหนังบาง ๆ ปูข้างบนก่อนที่จะวางแหย่งลงไป แหย่งก็คือที่นั่งบนหลังช้างเหมือนเก้าอี้แต่มีขากางคร่อมหลังช้างแล้วผูกรัดด้วยเชือกเส้นใหญ่ แต่หุ้มอีกชั้นด้วยสายพลาสติกขนาดใหญ่เพื่อมิให้เจ็บบริเวณท้องช้าง

          เสร็จเรียบร้อยแล้วถึงไปรับนาคตามจุดนัดหมายแล้วมาพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งคนและช้าง  ตลอดจนเครื่องอัฐบริขารของนาคแต่ละองค์ เมื่อมาประกอบกันเป็นจำนวนมากคือช้างนับร้อยเชือก มีนาคถึง ๓๐ องค์ จึงกลางเป็นขบวนใหญ่ทีเดียว ณ ที่วัดแจ้งสว่างซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านและเป็นสถานที่เปิดงาน ในปีนี้ค่อนข้างยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ (อบจ.สุรินทร์) ให้การสนับสนุนในการจัดงาน ททท. ช่วยเชิญสื่อมวลชนทั้งประเทศ และต่างประเทศมาทำข่าวประชาสัมพันธ์ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานด้วยตนเองเนื่องจากทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่างานบวชนาคช้างของชาวบ้านตากลางและใกล้เคียงนี้ สมควรที่จะได้รับการอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และภูมิปัญญาของขาวท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป  เป็นการส่งเสริมงานประเพณีพุทธศาสนนาให้ยั่งยืน ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้หมู่บ้านช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุรินทร์อย่างกว้างขวางด้วย

          แต่ที่สำคัญที่สุด เพื่อเป็นการอนุรักษ์ช้าง หาทางช่วยเหลือช้าง ช่วยเหลือคนเลี้ยงช้างให้มีงานทำ มีรายได้ที่เหมาะสมตลอดไป


           แห่นาคขบวนช้าง


          หลังจากพิธีเปิดงานเป็นทางการเสร็จสิ้นลง ขบวนแห่บวชนาคช้างก็เคลื่อนออกจากวัดแจ้งสว่างเพื่อไปเซ่นไหว้ศาลปู่ตา และขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนที่วังทะลุ ซึ่งมีระยะทางห่างจากวัดประมาณ ๒ กิโลเมตร มีถนนลาดยางตัดผ่านทุ่งนาไปจนถึงวังทะลุ ตลอดเส้นทางวงดนตรีกลองยาวประชันเสียงสร้างความครึกครื้นไปตลอด  ทำให้บรรดาช้างแสนรู้หลายเชือกที่ชินกับเครื่องประโคมดนตรี เดินบ้างเต้นบ้าง คนที่นั่งบนหลังช้างทั้งนาค ทั้งพระ ทั้งญาติโยม นักท่องเที่ยวและนักข่าว ต้องนั่งโยกเยกเหมือนนั่งเรือโคลงกันไปตลอดทางจนถึงวังทะลุ แต่ก่อนจะเข้าสู่พิธีการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องให้ช้างลงไปแช่ในน้ำคลายร้อนก่อน ๑ รอบ


           อุทกสีมา-โบสถ์น้ำ


          การที่ให้ช้างลงไปแช่น้ำมิใช่ประสงค์ให้ช้างได้ผ่อนคลายจากความร้อนของธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว ลำน้ำที่ไหลผ่านวังทะลุนี้คือลำน้ำมูลก่อนที่จะไปบรรจบกับลำน้ำชีเบื้องหน้า ลำน้ำสายนี้เป็นสายสำคัญของชาวอีสานมาแต่โบราณ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาพนมดงรัก นครราชสีมา ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ไปสู่แม่น้ำโขงที่อุบลราชธานี ชุมชนโบราณแต่เดิมทียังไม่มีการสร้างโบสถ์วิหาร มีแต่สำนักสงฆ์ จึงใช้แนวลำน้ำใกล้สำนักสงฆ์เป็นเขตกั้นผู้เข้าไปรบกวนการปฏิบัติธรรม (โดยเฉพาะญาติโยมสีกา) ลำน้ำมูลบริเวณนี้จึงเปรียบดั่งอุทกสีมา หรือโบสถ์น้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อช้างลงไปจุ่มลำน้ำก็เสมือนกับช้างนี้ได้บวชด้วยช้างก็คงได้บวชกันทุกปีมากกว่าคนที่บวชครั้งเดียวหนเดียวเป็นส่วนใหญ่

          ที่วังทะลุนั้นถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะชาวกวยกลุ่มเลี้ยงช้างเชื่อว่าเชือกปะกำคือผีปู่ตา  หรือเรียกว่าผีปะกำตั้งอยู่ทางด้านเหนือของบ้านเรือน ปกติแล้วการเซ่นผีปะกำจะมีหลายกรณี ได้แก่ การคล้องช้าง การแต่งงาน การบวช การจากไปแดนไกลเพื่อแสวงโชค ฯลฯ ดั้งนั้นในการบวชนาคช้างที่ยิ่งใหญ่ประจำปีจึงมีการเซ่นไหว้ผีปะกำประจำหมู่บ้าน ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วังทะลุเหนือฝั่งลำน้ำมูลแห่งนี้เอง


           พิธีเซ่นผีปะกำ


          คำว่า "ปะกำ" หมายถึงเชือกหนังที่ทำจากหนังควาย ๓ เส้น มาบิดเป็นเกลียวสำหรับคล้องขาช้าง โดยมีห่วงเหล็ก หรือหวายอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง ด้วยเหตุที่ว่าชาวกวยที่นี่ยกย่องช้างเสมือนสมาชิกหนึ่งของครอบครัว ดังนั้นผีปู่ตาที่เกี่ยวกับช้าง (ผีปะกำ) จึงนับเป็นผีที่ใหญ่ที่สุดรองลงไปเป็นผีบ้านผีเรือน (ยุจุ๊ ยะจั๊วะ) กล่าวกันว่าพิธีกรรมเหล่านี้เก่าแก่โบราณสมัยก่อนอาณาจักรเจนละจะรุ่งเรืองเสียอีก

          เวลาที่ทำพิธีเซ่นผีปะกำจะมีครูบา หรือปะกำหลวงคือผู้เฒ่าผู้มีความรู้ความชำนาญทั้งด้านคชลักษณ์ คชกรรมและเคยเป็นหมอสะดำที่ออกจับช้างป่าได้ไม่น้อยกว่า ๒๐ ตัวขึ้นไป เป็นผู้ประกอบพิธี พร้อมเครื่องเซ่นครบครัน ได้แก่ หัวหมู ๑ ตัว พร้อมเครื่องใน ไก่ต้ม ๑ ตัว กรวยดอกไม้ ๕ กรวย เหล้าขาว ๑ ขวด เทียนขี้ผึ้ง ๑ คู่ ข้าวสวน ๑ จาน บุหรี่ ๒ มวน หมาก ๒ คำ แกง ๑ ถ้วย น้ำเปล่า ๑ ขัน ขมิ้นผง ด้ายผูกข้อมือ ฯลฯ ขณะทำพิธีขบวนแห่นาคก็จะเรียงรายโดยรอบผีปะกำอย่างสงบ ให้ครูบากล่าวเชิญเทวดาอารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มารับเครื่องเซ่น ทุกคนในปริมณฑลจะเรียกชื่อ "อาคง...เอย" แล้วเชิญมารับเครื่องบัตรพลีพร้อมออกปากขอพร

           ในขณะที่ทำพิธีก็จะมีการเป่า "ซัง" หรือ "สแนงเกล" ทำจากเขาควายป่า มีลิ้นใช้เป่าให้เสียง ทั้งเป่าออกและสูดเข้าซึ่งเป็นเครื่องเป่าชนิดเดียวที่ใช้ในพิธีกรรมและให้สัญญาณของชาวกวย  ซังนั้นเป็นภาษาถิ่นผู้เป็นเจ้าของเครื่องเป่าชนิดนี้ ส่วนสแนงเกลเป็นภาษาถิ่นเขมร ภาษาถิ่นลาวเรียก "สะไน" ใช้เป่าเป็นสัญญาณในสงคราม พิธีขอฟ้าขอฝน และเซิ้งบั้งไฟ

          ดังนั้นหากไปร่วมงานของชาวกวยก็จะได้ยินได้ฟังซังหรือสแนงเกลสลับกับเสียงร้องของช้างเป็นวงดนตรีประสานเสียงอยู่เสมอ

          เมื่อเสร็จพิธีเซ่นผีปะกำ  ขบวนแห่บวชนาคช้างก็ย้อนกลับเส้นทางเดิมสู่หมู่บ้าน แต่ขากลับนี้เพื่อให้ทั้งชุมชนมีส่วนร่วมในอนุโมทนาถ้วนหน้า ก่อนเข้าหมู่บ้านขบวนจึงตัดออกทุ่งนาเพื่ออ้อมหมู่บ้านให้รอบก่อนเข้าวัดแจ้งสว่าง สถานที่ประกอบพิธีบวชดังเดิม  แต่ก่อนนั้นยังมีมการนำขบวนแห่รอบโบสถ์ ๓ รอบตามธรรมเนียมด้วย ในขณะเดียวกันวงกลองยาวทั้งคนและช้างต่างบรรเลงและกระโดดโลดเต้นกันอย่างสนุกสนาน ไม่รู้ว่าเป็นฤทธิ์เหล้าขาวหรืออย่างใด


           พิธีบวชพระ


          วันที่สามของงานบวชนาคช้างตรงกับวันวิสาขะ หรือวันเพ็ญเดือน ๖ เป็นวันที่บวชนาคเป็นพระ กรรมพิธีทางพุทธอย่างเดียว โดยไม่มีช้างเข้าไปเกี่ยวข้อง เด็ก ๆ มักถามกันเสมอว่าทำไมคนที่จะบวชเป็นพระถึงเรียกว่านาค  ก็มีเรื่องอรรถาธิบายว่าสมัยพุทธกาล พญานาคได้แปลงกายเป็นมนุษย์เพื่อมาขอบวชเป็นภิกษุ แต่เผอิญเผลอหลับไปงีบหนึ่งอยู่ที่โคนไม้ริมหนอง ร่างกายจึงกลายสภาพเดิม จึงมีผู้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้าทรงทราบ พระองค์ได้ตรัสแก่พญานาคตนนั้นว่า "อันสัตว์เดรัจฉาน ไม่อนุญาตให้บวชในบวรพุทธศาสนา" พญานาคตนนั้นมีความเสียใจมาก เลยทูลขอกับพระพุทธเจ้าว่านับต่อแต่นี้เป็นต้นไป ขอให้ผู้ต้องการบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาผู้นั้น ใช้คำว่า "นาค" ก่อน เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงตน ซึ่งเดิมที "จอม" หรือ "เทริด" ที่ใช้สวมหัวนาคก็ทำเป็นรูปหัวนาคกันจริง ๆ  แต่ตอนหลังความพิถีพิถันคงน้อยลง จึงเหมือนหมวกกันแดดเข้าไปทุกที

          บวชเป็นพระแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัด  จะบวชกันเพียงอาทิตย์เดียว เดือนเดียว หรือบวชไม่ยอมสึกเลยก็เป็นเรื่องความศรัทธาของแต่ละราย

"ช้างต้น" คู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัว...




๘๐พรรษา





         "
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ 
         ช้างเผือกในรัชกาลปัจจุบัน
"
 
      ช้างสำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ที่ทรงโปรดฯให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางเป็นช้างต้น  ตั้งแต่ปีพุทธศักราช  ๒๕๐๒  -  ๒๕๒๑  มีทั้งสิ้น  ๑๒  เชือก       

        .พระเศวตรอดลุยเดชพาหน  ภูมิพลนาคบารมีฯ  สมโภชขึ้นระวาง  ณ  โรงช้างต้น  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  ๒๕๐๒      .พระเศวตรรัตนกวี  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเชียงใหม่  เมื่อวันที่  ๒๔  มกราคม  พุทธศักราช   ๒๕๐๙
       .พระเศวตรสุรคชาธาร  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดยะลา  เมื่อวันที่  ๑๑  มีนาคม  พุทธศักราช  ๒๕๑๑     .ช้างพลายแก้ว  ยังมิทันได้ขึ้นระวางก็ล้มเสียก่อน  ปีพุทธศักราช  ๒๕๑๙
      .พระศรีเศวตรศุภลักษณ์  สมโภชขึ้นระวาง  ณ  โรงช้างต้น  สวนจิตรลดา  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๗  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  ๒๕๑๘     .ช้างพลายก้อง  ล้มก่อนน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
      .พระเศวตรสุทธวิลาศ  สมโภชขึ้นระวาง  ณ  โรงช้างต้น  สวนจิตรลดา  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๒๕  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๕    .พระวิมลรัตนกิริณี  สมโภชขึ้นระวาง  ณ  โรงช้างต้น  สวนจิตรลดา  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๓๐  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๐    .พระศรีนรารัฐราชกิริณี  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดนราธิวาส  เมื่อวันที่  ๒๔ สิงหาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๐
   ๑๐. พระเศวตรภาสุรคเชนทร์  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเพชรบุรี  เมื่อวันที่  ๒๕  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๑   ๑๑.พระเทพวัชรกิริณี  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเพชรบุรี  เมื่อวันที่  ๒๕  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๑
   ๒.พระบรมนขทิศ  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเพชรบุรี  เมื่อวันที่  ๒๕  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๑

 
พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ  ช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗

 
ช้างเผือกตามตำราคชลักษณ์
      
ช้างเผือกตามตำราคชลักษณ์นั้นแบ่งออกเป็น  ๓  ประเภท  และมีลักษณะอันเป็นมงคล  ๗  ประการ    คือ  มีตาขาว  เพดานขาว  เล็บขาว  ผิวหนังสีขาวหรือสีหม้อใหม่  ขนขาว  ขนหางยาว  และอัณฑโกศสีขาวหรือสีหม้อใหม่  คือ
    
.ช้างเผือกเอก  เรียกว่า  สารเศวตร  หรือ  สารเศวตพรรณ  เป็นช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์และมีลักษณะพิเศษ  คือ  ร่างใหญ่  ผิวขาวบริสุทธิ์  สีดุจสีสังข์  เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง
    
.ช้างเผือกโท  เรียกว่า  ปทุมหัตถี  มีผิวสีชมพูดูคล้ายสีกลีบดอกบัวแดงแห้ง  เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การศึก
    
.ช้างเผือกตรี  เรียกว่า    เศวตรคชลักษณ์  มีสีดุจใบตองอ่อนตากแห้ง  เป็นช้างมงคล
    
หากมีการพบช้างสำคัญ  ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาแต่โบราณ  ที่จะไม่กล่าวว่าช้างนั้นเป็นช้างเผือกและเป็นชั้นใด  เอก  โท  หรือตรี  แก่ผู้ใดจนกว่าจะได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเสียก่อน  และจะเรียกว่า  ช้างสำคัญ  ไปจนกว่าจะได้รับการขึ้นระวางและรับพระราชทานอ้อยแดง  จารึกนามแล้ว  จึงเรียกว่า  "ช้างเผือก"

พระชัยหลังช้าง
 
  ช้างเผือกจำลอง พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระยาช้างต้นในสมัยรัชกาลที่ ๕
 ขนาด สูง ๒๗ ซม. สมัยรัตนโกสินทร์ วัสดุ  ดินดิบ  เป็นช้างเผือกโท คล้องได้ที่ป่าดงกระมุง แขวงเมืองสมบุกสมบุญ เจ้ายุติธรรมนครจำปาศักดิ์ น้อมเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางเมื่อปี พ.. ๒๔๑๘ วันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ปีกุน จ..๑๒๓๗ รูปจำลองนี้ จำลองขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทอดพระเนตร และมีคำสั่งโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง จารึกชื่อความเป็นมา ลงบนแท่นหินอ่อน หรือฐานของรูปหุ่นช้าง เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาแต่เดิม นำมาจัดแสดง วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕ 

                        มีดชายธง ด้ามเป็นงา แกะสลักรูปพระพิฆเณศ
 
 
 

     ช้างต้น  หมายถึง  ช้างที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์  ในสมัยโบราณได้แบ่งช้างต้นออกเป็น  ๓  ประเภท  ดังนี้
    ๑.ช้างศึกที่ทรงออกรบ
    ๒.ช้างสำคัญซึ่งมีลักษณะเป็นช้างมงคลตามตำราคชลักษณ์  แต่ไม่สมบูรณ์หมดทุกส่วน
    ๓.ช้างเผือกซึ่งมีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์อย่างสมบูรณ์
    
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  การศึกที่ต้องใช้กองทัพช้างในการสงครามหมดความสำคัญลง  ช้างศึกที่ควรขึ้นระวางเป็นช้างต้นก็ไม่มีความจำเป็นจึงคงเหลือเพียงช้างต้น  ที่หมายถึงช้างสำคัญและช้างเผือก  ซึ่งหากพบก็จะมีการประกอบพระราชพิธีรับสมโภชและขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้น  ด้วยถือตามพระราชประเพณีที่ว่า  ช้างเผือกนั้นเป็นหนึ่งในรัตนะ  ๗  สิ่งซึ่งคู่บารมีขององค์พระมหากษัตริย์  โดยรัตนะทั้ง  ๗  นี้มีชื่อเรียกว่า  สัปตรัตนะ  อันได้แก่  จักรรัตนะ(จักรแก้ว)  หัตถีรัตนะ(ช้างแก้ว)  อัศวรัตนะ(ม้าแก้ว)  มณีรัตนะ(มณีแก้ว)  อัตถีรัตนะ(นางแก้ว)  คหปติรัตนะ(ขุนคลังแก้ว)  ปริณายกรัตนะ(ขุนพลแก้ว)
                                    
กำเนิดช้างมงคล
   จากตำราพระคชศาสตร์  ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคล  และแบ่งช้างมงคลเป็น  ๔  ตระกูล   ตามนามแห่งเทวะผู้ให้กำเนิด  คือ
   
. ช้างตระกูลพรหมพงศ์  พระพรหมเป็นผู้สร้าง  ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ
   
.  ช้างตระกูลอิศวรพงศ์  พระอิศวรเป็นผู้สร้าง  ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีบ้านเมืองจะมีความเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์และอำนาจ
     ๓.  ช้างตระกูลวิษณุพงศ์
 พระวิษณุ(พระนารายณ์)เป็นผู้สร้าง  ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมมีชัยชนะแก่ศัตรู  ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล  ผลาหารธัญญาหารจะบริบูรณ์
     ๔.  ช้างตระกูลอัคนีพงศ์
 พระอัคนีเป็นผู้สร้าง  ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีบ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหารและมีผลในทางระงับศึก  อันพึงจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว  ทั้งมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวง  อันเกิดแก่บ้านเมือง
คติความเชื่อเกี่ยวกับช้างเผือก
     
ตามคติความเชื่อทั้งในศาสนาพราหมณ์  และพุทธศาสนาถือว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่สูงด้วยมงคลทั้งปวง  เป็นสัญลักษณ์ทั้งธัญญาหาร  ภักษาหาร  ผลาหาร  และพระบารมีเกริกไกรอันยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน  และจะเกิดขึ้นด้วยบุญญาบารมีแห่งองค์พระจักรพรรดิ  แห่งแคว้นประเทศนั้น  ด้วยเหตุดังกล่าวเมื่อได้พบช้างเผือกเวลาใด  ประชาราษฎร์ก็จะแซ่ซ้องสาธุการน้อมเกล้าฯ  ถวายด้วยเป็นรัตนะแห่งพระองค์
จ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายหอม) ในรัชกาลที่ ๓ -
 
เจ้าพระยาปราบไตรจักร
งาช้าง ขนาด สูง ๒๙๙ ซม. และ สูง ๒๓๘ ซม. หนา ๔๔.๕ ซม. และ หนา ๔๕.๕ ซม
อายุสมัย รัตนโกสินทร์ ช้างพลายหอมจันได้มาจากเมืองด่านซ้าย ได้รับการขึ้นระวางประกอบพระราชพิธีสมโภช และพระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร พลายหอมจันมีรูปร่างงาม มีงายาวไขว้จนถึงดิน ในขณะที่เข้าขบวนใดก็ตาม จะต้องทำพื้นยกเตรียมไว้ เวลาเดินต้องแหงนคอขึ้น เพื่อไม่ให้งาครูดกับพื้น เมื่อหยุดเดิน ก็ยืนบนแท่นที่เตรียมไว้  เอางาพักบนพื้นดิน  งาช้างพระยาปราบไตรจักร เคยจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  และได้นำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้นวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕  
แส้หางช้างพลายศรีประหลาด
 
เมืองเชียงใหม่ 
 
งาพระยาช้างต้น (จากซ้ายไปขวา
 งา พระเทพกุญชร  รัชกาลที่ ๑
 งา พระเศวตกุญชร  รัชกาลที่ ๒
 งา พระบรมฉัททันต์ รัชกาลที่ ๓
พ่อหมอเฒ่า (ปฏิยะ) ทำด้วยสำริด ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น เข้าใจว่าเดิมเป็นรูปเคารพอยู่ในกรมพระคชบาล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น
    กว้าง ๓๕ ซม. สูง ๔๔ ซม.
    สมัยรัตนโกสินทร์
    ทำจากสำริด
    กรมช้างต้นกระทรวงวัง ส่งให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้นวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๒
หนังช้างเผือกดอง เข้าใจว่าเป็นหนังช้าง
เผือกเอก ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลา  กรมขุนบำราบปรปักษ์ทรงคล้องได้ ที่บ้านนา แขวงนครนายก พ
..๒๔๐๗ แต่ล้มเสียก่อนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสียดายมากโปรดเกล้าให้เอาหนังดองไว้ ฯ
โรงช้างต้นเก่า  ในพระราชวังดุสิต ข้างรัฐสภา  ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ช้างต้นเป็นช้างเผือกโท คล้องได้ที่ป่าดงกระมุง แขวงเมืองสมบุกสมบุญ เจ้ายุติธรรมนครจำปาศักดิ์  น้อมเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางเมื่อปี พ.. ๒๔๑๘ วันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ปีกุน จ..๑๒๓๗ รูปจำลองนี้จำลองขึ้นเพื่อนำทูลเกล้า ฯ ถวายเพื่อทอดพระเนตร และมีคำสั่งโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง จารึกชื่อความเป็นมา ลงบนแท่นหินอ่อน หรือฐานของรูปหุ่นช้างเป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้นมาแต่เดิม
นำมาจัดแสดงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕
 

ประโยชน์ของช้าง

ช้างใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ
การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ ดีงามของชาติไทยในอดีตกาลนั้นล้วนแต่ได้ช้างเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ด้วยทั้ง สิ้น เมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ก็ได้ช้างเข้ามาเป็นแรงงานสำคัญอีกเช่นกัน เมื่อแรกเริ่มการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นช้างคือพาหนะสำคัญที่อัญเชิญพระ พุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตมาสถิตย์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือในงานพระราชทานงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะหรือประมุข ของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกของพระ ที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบพระเกียรติยศ

ช้างสร้างความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสสิงคโปร์ และเบตาเวีย (จาการ์ตา) ประเทศอินโดนีเซีย ได้พระราชทานช้างสำริดให้แก่ทั้ง 2 ประเทศนี้

ช้างใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม
ในยุคสมัยที่การคมนาคมยังไม่เจริญเทียบเท่ากับในปัจจุบัน มนุษย์ยังไม่ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ สำหรับนำมาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อการขนส่งของ ช้างคือพาหนะที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับมนุษย์ เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่มีความเฉลียวฉลาดและมีพละกำลังมหาศาล ช้างจึงสามารถขนส่งสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในปริมาณมากได้อย่างอดทน

ช้างใช้ในการอุตสาหกรรมทำไม้
การใช้ช้างทำไม้ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่การล้มไม้ การทอนไม้ซุง การขนส่งไม้จนถึงโรงงานหรือตลาดการค้า ในแง่ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และระบบการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย การใช้ช้างชักลากไม้ นับว่าเหมาะสมมาก เพราะช้างสามารถเดินไปได้โดยไม่ทำลายกล้าไม้ต้นเล็กๆ ไม่ทำให้ดินแน่น ไม่ต้องตัดถนนหนทางให้มากเส้น นอกจากนี้ช้างยังขึ้นเขาได้ดี และมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี

ในปัจจุบัเมื่อมนุษย์ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรและ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ความนิยมในการใช้แรงงานจากช้างจึงค่อยๆ ลดลง แต่ช้างก็ยังคงเป็นสัตว์ที่คนไทยทั้งชาติให้ความสำคัญเสมอดังนั้นรัฐบาลไทย จึงได้กำหนดให้ช้างเผือกเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ โดยกำหนดให้ทุกวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย


รูปช้างเมืองไทย.......