วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"ช้างต้น" คู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัว...




๘๐พรรษา





         "
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ 
         ช้างเผือกในรัชกาลปัจจุบัน
"
 
      ช้างสำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ที่ทรงโปรดฯให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางเป็นช้างต้น  ตั้งแต่ปีพุทธศักราช  ๒๕๐๒  -  ๒๕๒๑  มีทั้งสิ้น  ๑๒  เชือก       

        .พระเศวตรอดลุยเดชพาหน  ภูมิพลนาคบารมีฯ  สมโภชขึ้นระวาง  ณ  โรงช้างต้น  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  ๒๕๐๒      .พระเศวตรรัตนกวี  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเชียงใหม่  เมื่อวันที่  ๒๔  มกราคม  พุทธศักราช   ๒๕๐๙
       .พระเศวตรสุรคชาธาร  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดยะลา  เมื่อวันที่  ๑๑  มีนาคม  พุทธศักราช  ๒๕๑๑     .ช้างพลายแก้ว  ยังมิทันได้ขึ้นระวางก็ล้มเสียก่อน  ปีพุทธศักราช  ๒๕๑๙
      .พระศรีเศวตรศุภลักษณ์  สมโภชขึ้นระวาง  ณ  โรงช้างต้น  สวนจิตรลดา  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๗  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  ๒๕๑๘     .ช้างพลายก้อง  ล้มก่อนน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
      .พระเศวตรสุทธวิลาศ  สมโภชขึ้นระวาง  ณ  โรงช้างต้น  สวนจิตรลดา  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๒๕  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๕    .พระวิมลรัตนกิริณี  สมโภชขึ้นระวาง  ณ  โรงช้างต้น  สวนจิตรลดา  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๓๐  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๐    .พระศรีนรารัฐราชกิริณี  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดนราธิวาส  เมื่อวันที่  ๒๔ สิงหาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๐
   ๑๐. พระเศวตรภาสุรคเชนทร์  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเพชรบุรี  เมื่อวันที่  ๒๕  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๑   ๑๑.พระเทพวัชรกิริณี  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเพชรบุรี  เมื่อวันที่  ๒๕  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๑
   ๒.พระบรมนขทิศ  สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเพชรบุรี  เมื่อวันที่  ๒๕  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๑

 
พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ  ช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗

 
ช้างเผือกตามตำราคชลักษณ์
      
ช้างเผือกตามตำราคชลักษณ์นั้นแบ่งออกเป็น  ๓  ประเภท  และมีลักษณะอันเป็นมงคล  ๗  ประการ    คือ  มีตาขาว  เพดานขาว  เล็บขาว  ผิวหนังสีขาวหรือสีหม้อใหม่  ขนขาว  ขนหางยาว  และอัณฑโกศสีขาวหรือสีหม้อใหม่  คือ
    
.ช้างเผือกเอก  เรียกว่า  สารเศวตร  หรือ  สารเศวตพรรณ  เป็นช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์และมีลักษณะพิเศษ  คือ  ร่างใหญ่  ผิวขาวบริสุทธิ์  สีดุจสีสังข์  เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง
    
.ช้างเผือกโท  เรียกว่า  ปทุมหัตถี  มีผิวสีชมพูดูคล้ายสีกลีบดอกบัวแดงแห้ง  เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การศึก
    
.ช้างเผือกตรี  เรียกว่า    เศวตรคชลักษณ์  มีสีดุจใบตองอ่อนตากแห้ง  เป็นช้างมงคล
    
หากมีการพบช้างสำคัญ  ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาแต่โบราณ  ที่จะไม่กล่าวว่าช้างนั้นเป็นช้างเผือกและเป็นชั้นใด  เอก  โท  หรือตรี  แก่ผู้ใดจนกว่าจะได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเสียก่อน  และจะเรียกว่า  ช้างสำคัญ  ไปจนกว่าจะได้รับการขึ้นระวางและรับพระราชทานอ้อยแดง  จารึกนามแล้ว  จึงเรียกว่า  "ช้างเผือก"

พระชัยหลังช้าง
 
  ช้างเผือกจำลอง พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระยาช้างต้นในสมัยรัชกาลที่ ๕
 ขนาด สูง ๒๗ ซม. สมัยรัตนโกสินทร์ วัสดุ  ดินดิบ  เป็นช้างเผือกโท คล้องได้ที่ป่าดงกระมุง แขวงเมืองสมบุกสมบุญ เจ้ายุติธรรมนครจำปาศักดิ์ น้อมเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางเมื่อปี พ.. ๒๔๑๘ วันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ปีกุน จ..๑๒๓๗ รูปจำลองนี้ จำลองขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทอดพระเนตร และมีคำสั่งโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง จารึกชื่อความเป็นมา ลงบนแท่นหินอ่อน หรือฐานของรูปหุ่นช้าง เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาแต่เดิม นำมาจัดแสดง วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕ 

                        มีดชายธง ด้ามเป็นงา แกะสลักรูปพระพิฆเณศ
 
 
 

     ช้างต้น  หมายถึง  ช้างที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์  ในสมัยโบราณได้แบ่งช้างต้นออกเป็น  ๓  ประเภท  ดังนี้
    ๑.ช้างศึกที่ทรงออกรบ
    ๒.ช้างสำคัญซึ่งมีลักษณะเป็นช้างมงคลตามตำราคชลักษณ์  แต่ไม่สมบูรณ์หมดทุกส่วน
    ๓.ช้างเผือกซึ่งมีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์อย่างสมบูรณ์
    
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  การศึกที่ต้องใช้กองทัพช้างในการสงครามหมดความสำคัญลง  ช้างศึกที่ควรขึ้นระวางเป็นช้างต้นก็ไม่มีความจำเป็นจึงคงเหลือเพียงช้างต้น  ที่หมายถึงช้างสำคัญและช้างเผือก  ซึ่งหากพบก็จะมีการประกอบพระราชพิธีรับสมโภชและขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้น  ด้วยถือตามพระราชประเพณีที่ว่า  ช้างเผือกนั้นเป็นหนึ่งในรัตนะ  ๗  สิ่งซึ่งคู่บารมีขององค์พระมหากษัตริย์  โดยรัตนะทั้ง  ๗  นี้มีชื่อเรียกว่า  สัปตรัตนะ  อันได้แก่  จักรรัตนะ(จักรแก้ว)  หัตถีรัตนะ(ช้างแก้ว)  อัศวรัตนะ(ม้าแก้ว)  มณีรัตนะ(มณีแก้ว)  อัตถีรัตนะ(นางแก้ว)  คหปติรัตนะ(ขุนคลังแก้ว)  ปริณายกรัตนะ(ขุนพลแก้ว)
                                    
กำเนิดช้างมงคล
   จากตำราพระคชศาสตร์  ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคล  และแบ่งช้างมงคลเป็น  ๔  ตระกูล   ตามนามแห่งเทวะผู้ให้กำเนิด  คือ
   
. ช้างตระกูลพรหมพงศ์  พระพรหมเป็นผู้สร้าง  ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ
   
.  ช้างตระกูลอิศวรพงศ์  พระอิศวรเป็นผู้สร้าง  ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีบ้านเมืองจะมีความเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์และอำนาจ
     ๓.  ช้างตระกูลวิษณุพงศ์
 พระวิษณุ(พระนารายณ์)เป็นผู้สร้าง  ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมมีชัยชนะแก่ศัตรู  ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล  ผลาหารธัญญาหารจะบริบูรณ์
     ๔.  ช้างตระกูลอัคนีพงศ์
 พระอัคนีเป็นผู้สร้าง  ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีบ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหารและมีผลในทางระงับศึก  อันพึงจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว  ทั้งมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวง  อันเกิดแก่บ้านเมือง
คติความเชื่อเกี่ยวกับช้างเผือก
     
ตามคติความเชื่อทั้งในศาสนาพราหมณ์  และพุทธศาสนาถือว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่สูงด้วยมงคลทั้งปวง  เป็นสัญลักษณ์ทั้งธัญญาหาร  ภักษาหาร  ผลาหาร  และพระบารมีเกริกไกรอันยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน  และจะเกิดขึ้นด้วยบุญญาบารมีแห่งองค์พระจักรพรรดิ  แห่งแคว้นประเทศนั้น  ด้วยเหตุดังกล่าวเมื่อได้พบช้างเผือกเวลาใด  ประชาราษฎร์ก็จะแซ่ซ้องสาธุการน้อมเกล้าฯ  ถวายด้วยเป็นรัตนะแห่งพระองค์
จ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายหอม) ในรัชกาลที่ ๓ -
 
เจ้าพระยาปราบไตรจักร
งาช้าง ขนาด สูง ๒๙๙ ซม. และ สูง ๒๓๘ ซม. หนา ๔๔.๕ ซม. และ หนา ๔๕.๕ ซม
อายุสมัย รัตนโกสินทร์ ช้างพลายหอมจันได้มาจากเมืองด่านซ้าย ได้รับการขึ้นระวางประกอบพระราชพิธีสมโภช และพระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร พลายหอมจันมีรูปร่างงาม มีงายาวไขว้จนถึงดิน ในขณะที่เข้าขบวนใดก็ตาม จะต้องทำพื้นยกเตรียมไว้ เวลาเดินต้องแหงนคอขึ้น เพื่อไม่ให้งาครูดกับพื้น เมื่อหยุดเดิน ก็ยืนบนแท่นที่เตรียมไว้  เอางาพักบนพื้นดิน  งาช้างพระยาปราบไตรจักร เคยจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  และได้นำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้นวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕  
แส้หางช้างพลายศรีประหลาด
 
เมืองเชียงใหม่ 
 
งาพระยาช้างต้น (จากซ้ายไปขวา
 งา พระเทพกุญชร  รัชกาลที่ ๑
 งา พระเศวตกุญชร  รัชกาลที่ ๒
 งา พระบรมฉัททันต์ รัชกาลที่ ๓
พ่อหมอเฒ่า (ปฏิยะ) ทำด้วยสำริด ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น เข้าใจว่าเดิมเป็นรูปเคารพอยู่ในกรมพระคชบาล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น
    กว้าง ๓๕ ซม. สูง ๔๔ ซม.
    สมัยรัตนโกสินทร์
    ทำจากสำริด
    กรมช้างต้นกระทรวงวัง ส่งให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้นวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๒
หนังช้างเผือกดอง เข้าใจว่าเป็นหนังช้าง
เผือกเอก ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลา  กรมขุนบำราบปรปักษ์ทรงคล้องได้ ที่บ้านนา แขวงนครนายก พ
..๒๔๐๗ แต่ล้มเสียก่อนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสียดายมากโปรดเกล้าให้เอาหนังดองไว้ ฯ
โรงช้างต้นเก่า  ในพระราชวังดุสิต ข้างรัฐสภา  ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ช้างต้นเป็นช้างเผือกโท คล้องได้ที่ป่าดงกระมุง แขวงเมืองสมบุกสมบุญ เจ้ายุติธรรมนครจำปาศักดิ์  น้อมเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางเมื่อปี พ.. ๒๔๑๘ วันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ปีกุน จ..๑๒๓๗ รูปจำลองนี้จำลองขึ้นเพื่อนำทูลเกล้า ฯ ถวายเพื่อทอดพระเนตร และมีคำสั่งโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง จารึกชื่อความเป็นมา ลงบนแท่นหินอ่อน หรือฐานของรูปหุ่นช้างเป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้นมาแต่เดิม
นำมาจัดแสดงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น